วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ทศนิยม

ทศนิยม

ทศนิยมนั้นจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตลอด ไม่ว่าจะเป็นการบอกค่าของเงินที่เราใช้
การบอกเวลา   บอกหน่วยความยาว ฯลฯ


     -    การเขียนทศนิยมในรูปกระจายเป็นการเขียนในรูปการบวกค่าของตัวเลขในหลักต่าง ๆ  ของทศนิยมนั้น
      -  ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือการเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 10,100,1000 แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด) แทน
      - ทศนิยมและเศษส่วน ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นสิบ และทศนิยมสอง
ตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นร้อย
  ทศนิยม      หมายถึง ค่าของจำนวนเต็มที่แบ่งออกเป็นสิบส่วน ร้อยส่วน พันส่วน .... เท่า ๆ  กัน ซึ่งเขียนได้
ในรูปของเศษส่วน

1. การบวกทศนิยม
การบวกทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกันแล้วบวกตัวเลขที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าผลบวกได้เกิน 9 ให้ทศไปยังหลักข้างหน้าเหมือนการบวกจำนวนนับ
ตัวอย่าง42.36 + 23.86 = ?
วิธีทำ
คุณสมบัติสลับที่ของการบวกเช่น5.3 + 4.6 = 4.6 + 5.3 = 9.9
คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการบวกเช่น
( 0.14+0.83)+0.13 = 0.14 + (0.83 + 0.13) = 1.10


2. การลบทศนิยม
การลบทศนิยมใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกันแล้วลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันถ้าตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบให้กระจายหลักข้างหน้ามาเหมือนกับจำนวนนับ
ตัวอย่าง4.35 - 2.19 = ?
วิธีทำ

3. โจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม
ขั้นตอนการทำโจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม มีดังนี้
1.) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่เพิ่มขึ้น ใช้วิธีบวก
2.) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่ลดลง ใช้วิธีลบ
ตัวอย่างจ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน206.5 บาท จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150 บาท ให้ธนบัตรใบละ 500 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์500 - (206.5 + 150 ) = ?
วิธีทำ
จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน206.50 บาท
จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน150.00 บาท
จ่ายเงินค่าสมุดและดินสอเป็นเงิน356.50 บาท
ให้ธนบัตรใบละ500.00 บาท
จ่ายค่าหนังสือและสมุด356.50 บาท
จะได้รับเงินทอน143.50 บาท


4. การคูณทศนิยม
1. การหาผลคูณโดยใช้การบวก เช่น2 x 3.5 = 3.5 + 3.5 = 7.0
2. การหาผลคูณโดยการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนเช่น
3. การหาผลคูณโดยวิธีลัดให้คูณเหมือนการคูณจำนวนนับด้วยจำนวนนับ และผลคูณจะมีตำแหน่งทศนิยมเท่ากับทศนิยมที่โจทย์กำหนดให้ เช่น3x0.7 = 2.1 หรือ4 x2.17 = 8.68 เป็นต้น
คุณสมบัติการสลับที่ของการคูณเช่น5x0.8 = 0.8x5 =4.0


5. โจทย์การปัญหาการคูณทศนิยมมีหลักดังนี้
ขั้นตอนการทำโจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม
1.) อ่านโจทย์ให้เข้าใจว่าโจทย์กำหนดสิ่งใดให้ และต้องการทราบอะไร
2.) พิจารณาวิธีหาคำตอบโดยถ้าโจทย์กำหนดจำนวนสิ่งของให้และบอกว่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเท่าจะใช้วิธีการคูณ
ตัวอย่างซื้อผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหล ราคาผืนละ 5.25 บาท ให้ธนบัตรใบละ100 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์100 - (5.25x6) = ?
วิธีทำซื้อผ้าเช็ดหน้าราคาผืนละ5.25 บาท
ผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหลเท่ากับ6 ผืน
จ่ายเงินค่าผ้าเช็ดหน้า6x5.25 = 31.50 บาท
ให้ธนบัตร100 บาท
จะได้รับเงินทอน100 - 31.50 = 63.50 บาท
ทดสอบความเข้าใจ
ข้อ 1. จงหาค่าของ(7.58 - 3.61) + 2.95 = ?
ก.5.92 ข.6.82 ค.6.92 ง.14.14
ข้อ 2. แดงมีเงิน 24.50 บาท ซื้อหนังสือ 1 เล่มราคา15 บาทแดงมีเงินเหลือกี่บาท
ก.9 ข.9.50 ค.10 ง.10.50
ข้อ 3. เชือกยาวเส้นละ2.35 เมตรถ้านำมาวางต่อกัน10 เส้น จะได้เชือกยาวกี่เมตร
ก.12.35 ข.23.5 ค.235 ง.2,350
อ้างอิง

http://blog.eduzones.com/jipatar/85901 วันที่ 6 กันยายน 2556

จำนวนตรรกยะและอตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

     ในทางคณิตศาสตร์, จำนวนตรรกยะ (หรือเศษส่วน) คืออัตราส่วนของจำนวนเต็มสองจำนวน มักเขียนอยู่ในรูปเศษส่วน a/b เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็ม และ b ไม่เท่ากับศูนย์
     จำนวนตรรกยะแต่ละจำนวนสามารถเขียนได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น 3 / 6 = 2 / 4 = 1 / 2 รูปแบบที่เรียกว่า  เศษส่วนอย่างต่ำ a และ b นั้น a และ b จะต้องไม่มีตัวหารร่วม และจำนวนตรรกยะทุกจำนวนสามารถเขียนได้ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำนี้
     ทศนิยม เป็นรูปแบบที่แผ่ขยายออกมา และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด (ยกเว้นกรณีซ้ำศูนย์ เราสามารถละ โดยไม่ต้องเขียนได้) ข้อความนี้เป็นจริงสำหรับจำนวนตรรกยะทุกจำนวน
    จำนวนจริงที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะ เรียกว่า จำนวนอตรรกยะ
แผนภูมิจำนวนจริง





  1. จำนวนอตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น √2 , √3, √5, -√2, - √3, -√5 หรือ ¶ ซึ่งมีค่า 3.14159265...
  2. จำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น
เขียนแทนด้วย 0.5000...
เขียนแทนด้วย 0.2000...
ระบบจำนวนตรรกยะ
     จำนวนตรรกยะยังสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1. จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนหรือทศนิยมซ้ำได้ แต่ไม่เป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น
     2. จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I = {..., -4, -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3, 4, ...} เมื่อกำหนดให้ I เป็นเซตของจำนวนเต็ม
ระบบจำนวนเต็ม
     จำนวนเต็มยังสามารถแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน

1. จำนวนเต็มลบ หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I - โดยที่
          I - = {..., -4, -3, -2, -1}
เมื่อ I - เป็นเซตของจำนวนเต็มลบ
2. จำนวนเต็มศูนย์ (0)
3. จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I+ โดยที่
         I+ = {1, 2, 3, 4, ...}
เมื่อ I+ เป็นเซตของจำนวนเต็มบวก
         จำนวนเต็มบวก เรียกได้อีกอย่างว่า "จำนวนนับ" ซึ่งเขียนแทนเซตของจำนวนนับได้ด้วยสัญลักษณ์ N โดยที่
                           N = I+ = {1, 2, 3, 4, ...}



ในทางคณิตศาสตร์ "...ตรรกยะ" หมายถึง เราจำกัดขอบเขตให้อยู่ในระบบจำนวนตรรกยะเท่านั้น เช่น พหุนามตรรกยะ
\mathbb{Q} = \left\{\frac{m}{n} : m \in \mathbb{Z}, n \in \mathbb{Z}, n \ne 0 \right\}เซตของจำนวนตรรกยะทั้งหมดเราใช้สัญลักษณ์ Q หรือตัวใหญ่บนกระดานดำ \mathbb{Q}โดยใช้เซตเงื่อนไข ได้ดังนี้
จำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่เขียนแทนในรูปเศษส่วน เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็ม และ
<== หมายเหตุ == > ตัวอย่างจำนวนที่เป็นจำนวนตรรกยะ เช่น จำนวนเต็ม , เศษส่วน , ทศนิยมซ้ำ เป็นต้น

แบบที่ 1 การทำให้เศษเป็น 10 ,100 , 1000 ,... โดยอาศัยความรู้เรื่องของเศษส่วนที่เท่ากัน เช่น
(1) (2)
 
แบบที่ 2 ใช้หลักของการหารยาว เช่น
(1) จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปของทศนิยม (2) จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปของทศนิยม
(3) จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปของทศนิยม (4) จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปทศนิยม










::: สรุป ::: ในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม เราจะได้ทศนิยมซ้ำศูนย์หรือทศนิยมที่ซ้ำตัวเลขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
หมายเหตุ ==> ทศนิยมซ้ำศูนย์ เช่น อ่านว่า ศูนย์จุดสี่ศูนย์ ศูนย์ซ้ำ
==> ทศนิยมซ้ำตัวเลข เช่น อ่านว่า ศูนย์จุดห้าสี่ห้าสี่ซ้ำ
 
 

ในที่นี้ขอแนะนำ 2 วิธี คือ

1. การทำให้ตัวที่ซ้ำกันหมดไปโดยการเอาค่าประจำตำแหน่งคูณเข้าไปทั้งสมการเพื่อให้เกิดสมการใหม ่
ตัวอย่างที่ 1 จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปเศษส่วน
 
ตัวอย่างที่ 2 จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปเศษส่วน


2. ใช้สูตรลัด
ตัวอย่างที่ 3 จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปเศษส่วน
ตัวอย่างที่ 4 จงเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปเศษส่วน

รากที่สอง



รากที่สอง


บทนิยาม
 ให้  a 

แทนด้วยจำนวนใด ๆ หรือศูนย์

             รากที่สองของ a  คือจำนวนที่ยกกำลัง              สองแล้วได้
 =  a
 




  ตัวอย่างเช่น:-
      3  เป็นรากที่สองของ 9 เพราะเมื่อเอา  32  แล้วได้ =  9 
หรือ
    -3  ก็เป็นรากที่สองของ 9 เช่นกัน เพราะเมื่อเอา (-
3)2=9(ลบ x ลบ = บวก)
               หรือ       มีรากที่สองเป็น   3  และ  -3
      7 เป็นรากที่สองของ 49 เพราะเมื่อเอา  72  แล้วได้ = 
49  หรือ
    -7 ก็เป็นรากที่สองของ 49 เช่นกันเพราะเมื่อเอา(-
7)2 =  49

       หรือ       มีรากที่สองเป็น   7  และ  -7  
  
แนวคิดคือ  การจะหารากที่สองของจำนวนใด ๆ  ก็ต้องคิดว่า จำนวนอะไร

                 เอ่ยที่คูณตัวเอง สองครั้ง(คูณตัวเองสองครั้งเรียกว่ายกกำลัง

                 สอง)จะได้จำนวนตามที่กำหนด  ดังเช่นตัวอย่างข้างบน หรือ                 -  ให้หา
  ก็คือหาว่าเลขอะไรคูณตัวเองสองครั้งแล้วได้ 16
                         นั่นคือ 4x4 หรือ  -4 x -4  ได้  16 (ลบคูณลบจะได้ค่าเป็นบวก)
        
       -  หรือ    ก็คือหาว่าเลขอะไรคูณตัวเองสองครั้งแล้วได้ 64
                  
 นั่นคือ 8 x 8 หรือ  -8 x -8  ได้ 64 (ลบคูณลบจะได้ค่าเป็นบวก)  
             -  หรือ    
   ก็คือหาว่าเลขอะไรคูณตัวเองสองครั้งแล้วได้
                    1225 นั่นคือ 35x35 หรือ (-35) x (-35) ได้ 64 ตัวอย่างนี้
                   
ค่อนข้างจะลำบากต่อการที่จะคิดว่าอะไรคูณกันสองครั้งแล้ว

                    ได้ 1225 


 

หารลงตัว

        กฎการหารเลขลงตัว
(
Divisibility Rules)
เพื่อหาผลคูณของตัวเลข (Product of Number)
ตัวอย่าง 783
รอบที่ 1
          1.1 เลข 783 มีหลักหน่วยเป็นเลข 3 ดังนั้นเลขคู่ทั้งหมดและเลข 5 หาร 783 ไม่ลงตัวอย่างแน่นอน แสดงว่า 783 อาจจะถูกหารด้วย 3 หรือ 9 หรือ 11 ลงตัว
          1.2 ลองนำเลขโดดทุกหลักของ 783 มาบวกกัน จะได้เป็น 7 + 8 + 3 = 18 ซึ่ง 18 หาร 9 ลงตัว ดังนั้นสรุปได้ว่า 783 หาร 9 ลงตัว ซึ่งได้ผลหารเท่ากับ 783 / 9 = 87
รอบที่ 2 
          2.1 ใช้วิธีการวิเคราะห์เหมือนรอบที่ 1 ซ้ำอีกครั้ง กล่าวคือ เลข 87 มีหลักหน่วยเป็นเลข 7 ดังนั้นเลขคู่ทั้งหมดและเลข 5 หาร 87 ไม่ลงตัวอย่างแน่นอน แสดงว่า 87 อาจจะถูกหารด้วย 3 หรือ 9 หรือ 11 ลงตัว
          2.2 ลองนำเลขโดดทุกหลักของ 87 มาบวกกัน จะได้ว่า 8 + 7 = 15 ซึ่ง 15 หาร 3 ลงตัว ดังนั้นสรุปได้ว่า 87 หาร 3 ลงตัว ซึ่งได้ผลหารเท่ากับ 87 / 3 = 29
รอบที่ 3
          3.1 เลข 29 เราทราบว่าเป็นจำนวนเฉพาะ (Prime number) เราจึงไม่สามารถหาผลคูณต่อไปได้
คำตอบ คือ
----------------------------------------------------------


อีกตัวอย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง 2,989
รอบที่ 1
          1.1 เลข 2,989 มีหลักหน่วยเป็นเลข 9 ดังนั้นเลขคู่ทั้งหมดและเลข 5 หารมันไม่ลงตัวอย่างแน่นอน แสดงว่า 2,989 อาจจะถูกหารด้วย 3 หรือ 9 หรือ 11 ลงตัว
          1.2 ลองนำเลขโดดทุกหลักของ 2,989 มาบวกกัน จะได้เป็น 2 + 9 + 8 + 9 = 28 ซึ่ง 28 หาร 3 และ 9 ไม่ลงตัว ดังนั้นสรุปได้ว่า 2,989 หารด้วย 3 หรือ 9 ไม่ลงตัว



          1.3 ดังนั้นลองใช้วิธีตรวจสอบจำนวนที่หารด้วย 11 ลงตัว จะได้ว่า 2 + 8 = 10 และ 9 + 9 = 18 ซึ่ง 18 10 ไม่เท่ากับ 11 หรือ 0 ดังนั้น 2,989 จึงหารด้วย 11 ไม่ลงตัว

           1.4 ดังนั้นเหลือตัวหารตัวสุดท้าย คือ หารด้วยเลข 7 ปรากฏว่า 2,989 / 7 = 427


คำตอบ คือ

----------------------------------------------------------

แบบฝึกหัดฝึกทำเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำโจทย์
1. 219 = 
2. 426 = 
3. 560 = 

4. 667 = 
5. 2,387 = 
6. 9,760 = 
7. 3,608 = 
8. 1,209 = 
9. 15,840 =
10. 14,641 =

เฉลย
1. 219 = 3 * 73
2. 426 = 6 * 71
           = 2 * 3 * 71
3. 560 = 10 * 56
           = (5 * 2) * (8 * 7)
           = (5 * 2) * (2 * 2 * 2) * 7
4. 667 = 23 * 29
5. 2,387 = (11 * 217)
              = (11 * 7 * 31)


6. 9,760 = 10 * 976
              = (5 * 2) * (4 * 244)
              = (5 * 2) * (2 * 2) * (4 * 61)

              = (5 * 2) * (2 * 2) * (2 * 2 * 61)
7. 3,608 = 8 * 451
              = (2 * 2 * 2) * (11 * 41)
8. 1,209 = 31 * 39
9. 15,840 = 10 * 1,584
                = (5 * 2) * (8 * 198)
                = (5 * 2) * (2 * 2 * 2) * (9 * 22)
                = (5 * 2) * (2 * 2 * 2) * (3 * 3 * 2 * 11)
10. 14,641 = 11 * 1,331
                  = 11 * (11 * 121)
                  = 11 * 11 * (11 * 11)
อ้างอิง

รูปสามเหลี่ยม


  รูปสามเหลี่ยม (Triangle)


คือ หนึ่งในรูปร่างพื้นฐานในเรขาคณิต เป็นรูป 2 มิติ ที่ประกอบด้วยจุดยอด 3 จุดและด้าน 3 ด้านที่เป็นส่วนของเส้นตรง
ชนิดของรูปสามเหลี่ยม          รูปสามเหลี่ยมแบ่งชนิดตามความยาวของด้านได้ดังนี้
  • รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจะเป็นรูปมุมเท่าอีกด้วย นั่นคือ มุมภายในทุกมุมจะมีขนาดเท่ากัน คือ 60°
  • รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีด้านสองด้านยาวเท่ากัน รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วจะมีมุมสองมุมมีขนาดเท่ากัน
  • รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ด้านทุกด้านจะมีความยาวแตกต่างกัน มุมภายในในรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าจะมีขนาดเแตกต่างกัน

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่ารูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า
รูปสามเหลี่ยมด้านเท่ารูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า


          รูปสามเหลี่ยมแบ่งชนิดตามขนาดของมุมภายในที่ใหญ่ที่สุด อธิบายด้วยองศา
  • รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาด 90° (มุมฉาก) ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉาก คือ ด้านตรงข้ามมุมฉาก ซึ่งเป็นด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก อีกสองด้าน คือ ด้านประกอบมุมฉาก
  • รูปสามเหลี่ยมมุมป้าน มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 90° (มุมป้าน)
  • รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม มุมภายในทุกมุมมีขนาดเล็กกว่า 90° (

การหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม

          การคำนวณพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมเป็นปัญหาพื้นฐานที่พบเจอเป็นประจำในสถานการณ์ต่างๆ มีหลายวิธีที่จะหาคำตอบ ขึ้นอยู่กับว่าเรารู้อะไรเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมบ้าง วิธีเหล่านี้เป็นสูตรหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่ใช้กันบ่อยๆ

ใช้เรขาคณิต

          พื้นที่ S ของรูปสามเหลี่ยม คือ S = ½bh เมื่อ b คือความยาวของด้านใดๆในรูปสามเหลี่ยม (ฐาน) และ h (ส่วนสูง) คือระยะทางตั้งฉากระหว่างฐานกับจุดยอดที่ไม่ใช่ฐาน วิธีนี้แสดงให้เห็นได้ด้วยการสร้างรูปทางเรขาคณิต
เปลี่ยนรูปสามเหลี่ยมเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ที่มีพื้นที่เป็นสองเท่าของรูปสามเหลี่ยม จากนั้นเปลี่ยนเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เปลี่ยนรูปสามเหลี่ยมเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ที่มีพื้นที่เป็นสองเท่าของรูปสามเหลี่ยม จากนั้นเปลี่ยนเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
          เพื่อที่จะหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ (สีเขียว) ขั้นแรก นำรูปสามเหลี่ยมเดียวกัน หมุนไป 180° และวางมันบนด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ เพื่อให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน จากนั้นตัดส่วนหนึ่งของรูปและนำไปวางบนอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เนื่องจากพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเท่ากับ bh ฉะนั้น พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้จึงเท่ากับ ½bh
                                                         พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เท่ากับ ผลคูณไขว้ของสองเวกเตอร์
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เท่ากับ ผลคูณไขว้ของสองเวกเตอร์

ใช้เวกเตอร์

          พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานสามารถคำนวณได้ด้วยเวกเตอร์ ถ้า AB และ AC เป็นเวกเตอร์ที่ชี้จาก A ไป B และ A ไป C ตามลำดับ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD คือ |AB × AC| หรือขนาดของผลคูณไขว้ของเวกเตอร์ AB กับ AC |AB × AC| มีค่าเท่ากับ |h × AC| เมื่อ h แทนเวกเตอร์ส่วนสูง
          พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC เป็นครึ่งหนึ่งของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หรือ S = ½|AB × AC|
ใช้ตรีโกณมิติหาส่วนสูง h
ใช้ตรีโกณมิติหาส่วนสูง h

ใช้ตรีโกณมิติ

          ส่วนสูงของรูปสามเหลี่ยมหาได้ด้วยตรีโกณมิติ จากรูปทางซ้าย ส่วนสูงจะเท่ากับ h = a sin γ นำไปแทนในสูตร S = ½bh ที่ได้จากข้างต้น จะได้พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ S = ½ab sin γ
          พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน จึงเท่ากับ ab sin γ

ใช้พิกัด

          ถ้าจุดยอด A อยู่ที่จุดกำเนิด (0, 0) ในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน และกำหนดให้พิกัดของอีกสองจุดยอดอยู่ที่ B = (x1, y1) และ C = (x2, y2) แล้วพื้นที่ S จะคำนวณได้จาก 1/2 เท่าของค่าสัมบูรณ์ของดีเทอร์มิแนนต์
 egin{vmatrix}x_1 & x_2  y_1 & y_2 end{vmatrix}
          หรือ S = ½ |x1y2 − x2y1|

ใช้สูตรของเฮรอน

          อีกวิธีที่ใช้คำนวณ S ได้คือใช้สูตรเฮรอน
S = sqrt{s(s-a)(s-b)(s-c)}
          เมื่อ s = ½ (a + b + c) คือครึ่งหนึ่งของเส้นรอบรูปของรูปสามเหลี่ยม

ใช้ความยาวด้านและสูตรที่เสถียรเชิงตัวเลข

          สูตรเฮรอนนั้นไม่เสถียรเชิงตัวเลขสำหรับรูปสามเหลี่ยมที่มีมุมขนาดเล็กมากๆ วิธีที่ดีกว่าคือ เรียงความยาวของด้านตามนี้ a ≥ b ≥ c และคำนวณจาก
S = 1/4sqrt{(a+(b+c)) (c-(a-b)) (c+(a-b)) (a+(b-c))}
          วงเล็บในสูตรนั้น จำเป็นต้องใส่ตามลำดับเพื่อป้องกันความไม่เสถียรเชิงตัวเลขในการหาค่า

รูปสามเหลี่ยมที่ไม่อยู่บนระนาบ

          ถ้ามีส่วนประกอบของรูปสามเหลี่ยม (จุดยอด หรือด้าน) 4 ส่วน อยู่บนระนาบเดียวกันแล้ว รูปสามเหลี่ยมนั้นจะอยู่บนระนาบเดียวกัน นักเรขาคณิตได้ศึกษารูปสามเหลี่ยมที่ไม่อยู่บนระนาบด้วย ตัวอย่างเช่น รูปสามเหลี่ยมบนทรงกลมในเรขาคณิตทรงกลม และ รูปสามเหลี่ยมเชิงไฮเพอร์โบลาในเรขาคณิตเชิงไฮเพอร์โบลา
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/dena/3746 วันที่ 6 กันยายน 2556